โรงพยาบาลพิชัย

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

ข่าวกรรมกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ เดือน ธันวาคม 2566

Kick Off คลินิกส่งเสริมการมีบุตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ รพ.พิชัย (2)

‘ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล’

📢ประชาสัมพันธ์ความรู้ เรื่อง ‘ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล’ อุบัติภัยจากโรงทำน้ำแข็ง และห้องเย็น
.
แอมโมเนียมักถูกใช้ในโรงงานทำน้ำแข็งและห้องเย็น มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นอันตรายต่อร่างกาย

👉มาดูกันว่า ‘ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล’ เกิดขึ้นได้อย่างไร
อันตรายแค่ไหน และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง?
.
👉สาเหตุ
– ความผิดพลาดระหว่างการจัดเก็บ บรรจุ ขนย้ายแอมโมเนีย
– อุปกรณ์เกิดความบกพร่อง เช่น วาล์วรั่ว ท่อส่งก๊าซแตก
ถังเก็บแอมโมเนียระเบิด
.
📌จุดสังเกตสำคัญว่ามีการรั่วไหล คือ หมอกควันสีขาว
ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซแอมโมเนียกับความชื้นในอากาศ
.
👉พิษแบบเฉียบพลัน
– แสบตา ตาบวม น้ำตาไหล
– เวียนหัว ตาลาย อาเจียน
– ระคายเคืองผิวหนัง เป็นแผลไหม้
– สูดดมเข้าไป ทำให้ระคายเคืองเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ
เจ็บหน้าอก ทำให้ปอดบวมน้ำ เสี่ยงหัวใจวาย
– ถ้าได้รับก๊าซแอมโมเนียที่ความเข้มข้นมากกว่า 1,700 ppm เกิน 30 นาที
อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้
.
👨‍👩‍👧กลุ่มเสี่ยง
คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมที่มีการใช้แอมโมเนีย
– โรงงานทำน้ำแข็งและห้องเย็น
– โรงงานผลิตอาหารแช่แข็ง
– โรงงานผลิตน้ำยางข้น
– คนงานชุบโลหะ
.
📌วิธีป้องกันและเตรียมรับมือเหตุ ‘ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล’
.
1. ใส่อุปกรณ์ป้องกัน ถุงมือ หน้ากาก เวลาทำงาน
และปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัย
.
2. ภาชนะบรรจุและระบบท่อส่งก๊าซแอมโมเนีย
ต้องได้รับมาตรฐานสากล มีการตรวจสอบสม่ำเสมอ
.
3. จัดสถานที่เก็บแอมโมเนียไว้นอกอาคาร ไม่โดนแดดและความชื้น
มีอากาศถ่ายเท มีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
.
4. ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งต้องมีสัญลักษณ์บอกถึงอันตรายของสารเคมี
ตัวรถลากต้องยึดติดกับรถพ่วงอย่างแน่นหนาปลอดภัย
.
5. จัดเตรียมอุปกรณ์ในกรณีเกิดการรั่วไหล หรือเกิดเพลิงไหม้
เช่น ระบบน้ำดับเพลิง และถังดับเพลิง รวมทั้งการจัดการน้ำเสียจากการระงับเหตุ
.
6. จัดทําแผนระงับเหตุฉุกเฉิน เหตุเพลิงไหม้ ฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง